ทำบุญเข้าพรรษา ต้องเตรียมอะไรบ้าง ถวายอะไรดี ให้เกิดประโยชน์?

ทำบุญเข้าพรรษา ต้องเตรียมอะไรบ้าง  ถวายอะไรดี ให้เกิดประโยชน์?

ใกล้ถึงช่วงเข้าพรรษาแล้ว ชาวพุทธหลายท่านคงเตรียมข้าวของ จัดสำรับอาหารไปทำบุญ ตักบาตร หรือปฏิบัติธรรมที่วัด ซึ่งวันเข้าพรรษาถือเป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกกันติดปากโดยทั่วไปว่า “จำพรรษา”  เริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

โดยวันเข้าพรรษา แปลว่า “พักฝน” ถือเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นวันที่พระภิกษุเริ่มการอธิษฐานอยู่ประจำในวัดหรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งโดยไม่ไปค้างแรมที่อื่นเป็นเวลา 3 เดือนในฤดูฝน เพื่อไม่ให้พระสงฆ์จาริกไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาข้าวของชาวบ้านเสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ในพระธรรมวินัยของทำบุญเข้าพรรษา

 

 

กิจวัตรของพระภิกษุในฤดูเข้าพรรษา

ช่วงเข้าพรรษา ถือเป็นฤดูกาลติวเข้มพระธรรมวินัยของพระภิกษุ โดยพระภิกษุสงฆ์ที่มีพรรษามากกว่า จะทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์ แก่พระภิกษุสงฆ์ที่พรรษาน้อยกว่า ทำให้พระภิกษุสงฆ์มีโอกาสได้ศึกษาพระไตรปิฏกมากยิ่งขึ้น

ประเพณีที่นิยมในวันเข้าพรรษา

ในวันเข้าพรรษา ประเพณีที่ถือปฎิบัติสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณกาลคือหล่อเทียนพรรษาโดยพุทธศาสนิกชนจะพร้อมใจกันหล่อเทียนพรรษาเพื่อถวายให้ภิกษุสงฆ์ได้ทำกิจของสงฆ์ตลอดพรรษา 3 เดือน นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร, ฟังธรรมเทศนา, รักษาศีล ร่วมกันถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร

ข้อปฏิบัติทั่วไปสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา

1. ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า

2. ฟังธรรมเทศนา

3. ถวายผ้าอาบน้ำฝน ร่วมหล่อเทียนพรรษา และถวายจตุปัจจัยไทยธรรม

4. ถือศีล ปฎิบัติธรรม ละเว้นอบายมุข

ของทำบุญเข้าพรรษามีอะไรบ้าง ?

การทำบุญเข้าพรรษาควรจะเน้นไปทำบุญตามวัดต่างจังหวัดเพราะพระสงฆ์ตามต่างจังหวัดนั้นจะขาดแคลนของอุปโภค บริโภคมากกว่าพระที่จำวัดในเมือง โดยผู้ที่ต้องการทำบุญควรจะนำของใช้จำเป็น 4 อย่างไปถวายท่าน ประกอบไปด้วย
1. เทียนบูชาพระ

เทียนขนาด 8 นิ้ว พร้อมไม้ขีด หรือไฟแช็ค ถวายเพื่อให้พระภิกษุไว้ใช้สวดมนต์ทำวัดตลอดระยะเวลา 3 เดือน
2. ผ้าอาบน้ำฝน

ผ้าฝ้ายขนาดใหญ่เอาไว้ให้พระภิกษุสงฆ์น้ำ แม้สมัยนี้หลายวัดจะนิยมให้ผ้าขนหนู แต่ในความเป็นจริงแล้วถือว่าผิดพระวินัยของสงฆ์
3. อาหารแห้ง

อาหารสำเร็จรูปถือว่าสะดวกเมื่อยามฝนตกออกบิณฑบาตรไม่ได้ ท่านก็จะได้ให้ลูกศิษย์นำมาปรุงให้ฉันท์ได้
4. ไฟฉายหรือตะเกียงอย่างดี

ไฟฉายพร้อมถ่านถือเป็นของใช้จำเป็นยามจำวัดตลอดเข้าพรรษา โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน มีพายุ ไฟฟ้าที่วัดอาจชำรุดเสียหาย รวมถึงวัดตามต่างจังหวัดที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ในยามค่ำคืนพระภิกษุ สามเณร จะได้มีไว้ใช้งาน
5. ยา

ในช่วงเข้าพรรษา เป็นช่วงเวลาที่พระอาพาธได้ง่าย ดังนั้นจำเป็นต้องมียารักษาโรคขั้นพื้นฐานสำรองไว้

 
ที่มา https://www.shopat24.com, https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge/buddhistlent/