การเดินทางของตาลปัตร เผยที่มาและพัฒนาการ

การเดินทางของตาลปัตร เผยที่มาและพัฒนาการ

หากใครเคยไปทำบุญหรือร่วมพิธีกรรมทางศาสนา ก็คงได้เคยเห็นสิ่งหนึ่งที่คล้ายกับพัด มีด้ามยาวที่พระสงฆ์ใช้ปิดบังหน้าขณะสวด หรือที่เราเรียกว่า “ตาลปัตร” หนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร ที่มีการปักลายต่าง ๆ ลงไปตามวาระต่าง ๆ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าตาลปัตรที่มีลวดลายและลักษณะที่แตกต่างกันนั้นมีที่มาอย่างไร และใช้ในโอกาสวาระที่ต่างกันเช่นไร เราจะพาไปรู้จักการเดินทางของตาลปัตร เผยที่มาและพัฒนาการกันค่ะ
จุดเริ่มต้นของตาลปัตร

 
ตาลปัตร แปลว่า พัดใบตาล มีที่มาจากใบตาล ซึ่งสมัยก่อนชาวบ้านจะเอาใบตาลมาตัดแต่งเป็นพัด เพื่อใช้โบกลมหรือบังแดด แต่ก่อนเป็นเพียงของใช้ทั่วไปของชาวบ้านในประเทศอินเดียและลังกา มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่ต่อมาพระสงฆ์ก็ถือเอาไปใช้เวลาแสดงธรรม ชาวบ้านก็เห็นพระใช้ใบตาลซึ่งไม่คงทนและสวยงาม จึงคิดหาสิ่งที่ทนทานและสวยงามกว่า เช่น ผ้าไหม ผ้าแพร ไม้ไผ่สาน สุดแต่กำลังศรัทธาของแต่ละคนจะประดิษฐ์ ตาลปัตรเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย ๆ จนเหมือนที่เราเห็นในปัจจุบัน
 
ส่วนสาเหตุที่พระสงฆ์ต้องใช้ตาลปัตรบังหน้าเวลาสวดในพิธีกรรมต่าง ๆ เนื่องจากเพื่อไม่ให้ผู้มาฟังธรรมเห็นอากัปกิริยาของพระสงฆ์ ที่อาจจะไม่ได้ระมัดระวังขณะที่กำลังสวด และเพื่อไม่ให้พระสงฆ์มองผู้มาฟังธรรม เพราะอาจจะทำให้ไม่มีสมาธิได้ ธรรมเนียมดังกล่าวนี้ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน
มาทำความรู้จักกับตาลปัตร

 

สั่งซื้อ ตาลปัตร คุณภาพดี ราคาถูก ที่นี่


 
หากใครที่เคยทำบุญร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา อาจจะได้เคยเห็นตาลปัตรหรือผ่านตากันมาบ้าง ซึ่งตาลปัตรที่ใช้ในพิธีสงฆ์ทั่วไป เรียกว่า “พัดรอง” ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนตาลปัตรที่ใช้ในงานราชพิธี เรียกว่า “พัดยศ” พระสงฆ์ที่จะได้รับพัดยศนั้นต้องเป็นพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์และมีราชทินนามหรือพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์และมีตำแหน่งในการดูแลปกครองสงฆ์ จะมีลวดลายและรูปลักษณ์ที่งามสง่า ดูแตกต่างจากตาลปัตรทั่ว ๆ ไป เราจะพบเห็นได้ยาก เนื่องจากเป็นเครื่องกำหนดสมณศักดิ์ที่กษัตริย์ให้สร้างขึ้น เพื่อถวายแด่พระสงฆ์ผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัย มีความรู้ความสามารถในภาษาบาลี เจริญในสมณคุณ รวมทั้งได้ทำคุณประโยชน์เป็นผลดีแก่พระศาสนา และจะนำมาใช้ในงานราชพิธีเท่านั้น อีกทั้ง พระสงฆ์ที่ไม่มีสมณศักดิ์จะไม่สามารถใช้พัดยศได้ ซึ่งจะถือเป็นความผิด
การทำตาลปัตร พัดยศ พัดรอง
 
โดยหลักแล้วการทำพัดยศนั้นยากกว่าพัดรอง เนื่องจากต้องปักลายด้วยมือเท่านั้น และต้องปักทั้งสองด้านให้เหมือนกัน เป็นงานที่ประณีตที่ต้องนำดิ้นเงินและดิ้นทองมาปักเป็นลวดลาย แต่ละลวดลายจะแตกต่างกันไปตามสมณศักดิ์ ยิ่งสมณศักดิ์สูง ลวดลายศิลปะก็ยิ่งสวยงามวิจิตรมากขึ้น พัดยศบางเล่มที่มีสมณศักดิ์สูงจะมีการปรัดับประดาด้วยเพชรพลอยหรืองาช้าง ซึ่งก็จะต้องใช้เวลามาก รวมทั้ง ราคาเริ่มต้นก็สูงมาก ตั้งแต่หลักหลายพันบาทไปจนถึงหลักหลายแสนบาท
 การทำสั่งทำพัดยศนั้น ส่วนมากจะสั่งทำในวาระที่พระสงฆ์ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ และต้องการเก็บพัดยศอันเดิมไว้เป็นที่ระลึก เพราะหากพระภิกษุรูปใดที่ได้เลื่อนสมณศักดิ์แล้ว ก็จะต้องมอบพัดยศสมณศักดิ์เล่มเดิมคืนสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อรับพัดยศสมณศักดิ์เล่มใหม่
 ส่วนการทำพัดรอง จะทำง่ายกว่าพัดยศมาก เพราะปัจจุบันมีการนำเครื่องปักที่ทันสมัยมาใช้ และมีการออกแบบลวดลาลายและแบบอักษรได้ตามต้องการ ใช้เวลาทำไม่นาน ส่วนราคาโดยมากจะเริ่มต้นที่ประมาณ 1,600 บาท
 
และนี่คือที่มาพัฒนาการ รวมถึงเรื่องรอบรู้เกี่ยวกับตาลปัตรที่เรานำมาฝากกันค่ะ สำหรับใครที่ต้องการสั่งทำตาลปัตรเพื่อนำไปถวายพระ ควรศึกษารายละเอียดเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
 

สั่งซื้อ ตาลปัตร คุณภาพดี ราคาถูก ที่นี่