พระเชียงแสน 80"


พระเชียงแสน หน้าตัก 80"
วัสดุหล่อจากทองเหลืองหรืออัลลอยซึ่งมีข้อดีต่างกัน
1) 
พระเชียงแสนวัสดุหล่อจากทองเหลือง แข็งแรงทนทานต่อทุกสภาพอากาศ
2) 
พระเชียงแสนวัสดุหล่อจากอัลลอย น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย 
พระเชียงแสนเคลือบด้วยสีน้ำทองสุกอร่าม เปล่งประกาย ดุจทองคำแท้


(บริการจารึกชื่อให้ฟรี)
(รับประกันคุณภาพด้วยประสบการณ์กว่า 40 ปี)



ความเป็นมา พระพุทธรูปเชียงแสนมีต้นกำเนิดจากทางภาคเหนือ ซึ่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ภาคเหนือของประเทศไทยนั้นเคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาลอยู่อาณาจักรหนึ่ง เรียกว่า "อาณาจักรเชียงแสน"

กล่าวเล่าท้าวความว่าในอดีต ราวรัชสมัยพระเจ้าอนุรุทมหาราชแผ่อำนาจเข้ามาปกครองเมืองเชียงแสน พระองค์ได้นำเอาพระพุทธศาสนาลัทธิหินยาน (เถรวาท) อย่างพุกามเข้ามาเผยแผ่ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาลัทธิหินยานที่เข้ามาทางประเทศอินเดียฝ่ายเหนือผ่านมอญและพม่า อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้เอง พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนจึงได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะอินเดียสกุลช่างปาละอีกด้วย ปาละ” นั้น เป็นชื่อราชวงศ์อินเดียที่เคยครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ได้แก่แคว้นพิหารและเบงกอล ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-17 และเป็นราชวงศ์ที่อุปถัมภ์ พระพุทธศาสนาลัทธิมหายานนิกายตันตระ” ซึ่งนิยมการใช้เวทมนต์คาถาเป็นอย่างมาก มีศูนย์กลางอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา และได้สร้างพระพุทธรูปเป็นรูปเคารพและมีพุทธลักษณะที่สำคัญคือ พระรัศมีทำเป็นแบบดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาทำเป็นก้นหอยใหญ่ พระพักตร์กลมอมยิ้ม พระหนุ (คาง) เป็นปม ลำพระองค์อวบอูมสมบูรณ์ พระอุระนูน ชายสังฆาฏิเหนือพระอังสาซ้ายสั้นและปลายแตกเป็นปากตะขาบ นิยมสร้างเป็นปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร และปรากฏพระบาททั้งสองข้าง อันเป็นพระพุทธลักษณะของพระพุทธรูปที่มีความงดงามมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะพบที่เมืองเชียงแสน และในสมัยนั้นเมืองเชียงแสนก็อาจจะเป็นเมืองที่สำคัญจึงได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปศิลปะแบบนี้ว่า พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน” ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปรุ่นแรกๆ ของไทย


พระพุทธรูปเชียงแสน ไม่ได้มีจำกัดอยู่เฉพาะที่เมืองเชียงแสนเท่านั้น แต่ได้ขยายขอบข่ายออกไปถึงเมืองเชียงใหม่ ลำพูน แพร่ น่าน และเลยเข้าไปยังเมืองหลวงพระบางและนครเวียงจันทน์อีกด้วย ทั้งนี้เพราะพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งเมืองเวียงจันทน์ ได้เข้ามามีอำนาจอยู่ในนครเชียงใหม่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ได้กวาดต้อนชาวเชียงใหม่ที่มีฝีมือในการสร้างพระพุทธรูป ไปสร้างพระพุทธรูปในเขตเมืองหลวงพระบางและเมืองเวียงจันทน์ จึงได้เกิดเป็นพุทธรูปศิลปะอีกแบบหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า “พระเชียงแสนลาว” หรือที่เราเรียกกันว่า “พระพุทธรูปแบบเชียงแสนนอกเมือง” เพราะต้นกำเนิดการสร้างอยู่ในประเทศลาว “พระพุทธรูปแบบเชียงแสนลาว” มีอายุเทียบได้ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ประมาณอายุใกล้เคียงกับ “พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์ 3” หรือสมัยอยุธยา และนอกจากในเขตประเทศลาวแล้ว ยังปรากฏว่ามีการค้นพบพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนอีกในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยทั่วไป อาทิ ในเขตนครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานีและขอนแก่น และพระพุทธรูปแบบนี้เป็นต้นแบบฝีมือสกุลช่างปั้นพระพุทธรูปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสมัยต่อมา ซึ่งคิดว่าคงจะได้รับอิทธิพลและรูปแบบการสร้างสืบต่อกันมาตลอดโดยทางลำแม่น้ำโขงเป็นสำคัญ
 
            จากประวัติศาสตร์ชาติก่อนนอกจากนี้ “พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน” ยังได้รับอิทธิพลและแบบอย่างจากพุทธศิลปะประเทศลังกา คือจากพุทธศาสนาลัทธิหินยานอย่างเถรวาทจากประเทศอินเดียฝ่ายใต้ซึ่งเผยแผ่เข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทย จึงได้เกิดเป็นพุทธศิลปะของพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนอีกแบบหนึ่งทึ่เรียกว่า “พระพุทธรูปเชียงแสนลังกาวงศ์” เรียกได้ว่ามีมากมายหลายสกุลช่าง และได้มีการสืบสานการสร้างตลอดมาเป็นระยะเวลายาวนานหลายร้อยปี