ทำไมพระจึงต้องใช้"ตาลปัตร"บังหน้าในการสวด? เฉลยแหล่งที่มาของคำว่า"ตาลปัตร"

ทำไมพระจึงต้องใช้

วันนี้ผู้เขียนขอเสนอเรื่องราวความเป็นมาของ “ตาลปัตร”ค่ะว่า…ทำไมพระถึงต้องถือตาลปัตร? และผู้เขียนก็เชื่อว่าน่าจะมีท่านผู้ชมอยู่หลายท่านเลยทีเดียวที่เคยมีความคิดสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นเดียวกันกับตัวผู้เขียนแต่ก็ไม่มีใครเคยคิดเฟ้นหาเอาคำตอบที่แท้จริง เรื่องนี้จึงได้กลายเป็นปัญหาที่คงค้างคาใจเรามาจวบกระทั่งในปัจจุบัน..

และวันนี้ผู้เขียนจะพาท่านผู้ชมมาไขข้อข้องใจให้ทะลุปรุโปร่งคลายความสงสัยกันเสียทีหลังจากปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นปัญหาซึ่งค้างคาใจมานมนานในชีวิต ที่นี้เราจะได้กระจ่างแจ้งแก่ใจไปพร้อมๆกันค่ะ เอาล่ะเรามาดูกันเลยค่ะว่า”ตาลปัตร”ที่ว่าเนี่ยมีความเป็นมาอย่างไรบ้าง..

ตั้งแต่สมัยเด็กๆเมื่อเราไปทำบุญที่วัด หรือนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะที่บ้าน ที่ทำงานหรือที่ใด เรามักจะเห็น “ตาลปัตร” อยู่คู่กับการสวดของพระอยู่เสมอ ซึ่งส่วนใหญ่คงจะเคยชิน แต่คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบว่า เหตุใดพระสงฆ์จึงต้องใช้ตาลปัตรปิดหน้าเวลาสวด ดังนั้นผู้เขียน“จึงขอนำเรื่องของ”ตาลปัตร”มาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นความรู้ ดังนี้ค่ะ

คำว่า “ตาลปัตร” หรือ “ตาลิปัตร” เป็นคำภาษาไทยที่นำมาจากภาษาบาลีว่า ตาล ปตฺต แปลว่า ใบตาล ซึ่งใบตาลนี้เป็นสิ่งที่คนทั่วไปใช้บังแดดและใช้พัดกระพือเอาลมเข้าหาตัวเพื่อคลายความร้อนมาตั้งแต่สมัยโบราณ และถือเป็นเครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างหนึ่งในประเทศเขตเมืองร้อน ดังนั้น ตาลปัตร จึงหมายถึง พัดที่ทำจากใบตาลนั่นเอง โดยคำว่า “พัด” ที่ภาษาบาลีเรียกว่า “วิชนี” นี้ มีความหมายว่า เครื่องโบกหรือเครื่องกระพือลม และไทยได้นำมาแปลงเป็น “พัชนี” ต่อมาคงเรียกกร่อนคำให้สั้นลงเหลือเพียง “พัช” ออกเสียงว่า “พัด” แล้วก็คงใช้เรียกและเขียนกันจนลืมต้นศัพท์ไป 

“ตาลปัตร” หรือบางแห่งก็ใช้คำว่า “วาลวิชนี” (ที่เดิมหมายถึง เครื่องพัดโบกสำหรับผู้สูงศักดิ์) นี้ ดั่งเดิมคงหมายถึง สิ่งที่ใช้พัดวีเช่นเดียวกัน จะต่างกันก็ตรงวัสดุที่ใช้ คือ ตาลปัตรทำด้วยใบตาล แต่”วาลวิชนี” อาจจะทำด้วยวัสดุอื่นๆ เช่น ผ้าแพร ขนนก ขนหางสัตว์ เป็นต้น ซึ่งสมัยก่อน “พัด” ที่พระถือกันอยู่สมัยแรกๆนั้นจะทำด้วยใบตาลจึงเรียกว่า “ตาลปัตร” ต่อมาแม้จะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเป็นวัสดุอื่นหรือตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดารอย่างไรก็ยังคงเรียกว่า“ตาลปัตร” อยู่เช่นเดิม และถือเป็นสมณบริขารอย่างหนึ่งของพระสงฆ์สำหรับสาเหตุที่พระสงฆ์นำ “ตาลปัตร” มาใช้นั้น ได้มีผู้ให้ความเห็นต่างๆ กันไป บางท่านก็ว่า การใช้ตาลปัตรครั้งแรกดั่งเดิมนั้น มิใช่เพื่อบังหน้าเวลาเทศน์ แต่ใช้เพื่อกันกลิ่นเหม็นของศพที่เน่าเปื่อย เนื่องจากพระสงฆ์ในสมัยโบราณจะต้องบังสุกุลผ้าห่อศพไปทำจีวร ดังนั้น ท่านจึงต้องใช้ใบตาลขนาดเล็กมาบังจมูกกันกลิ่น จากนั้นต่อมาก็เลยกลายเป็นประเพณีของสงฆ์ที่จะถือตาลปัตรไปทำพิธีต่างๆ โดยเฉพาะในพิธีปลงศพ

 

บางท่านก็ว่าการที่พระถือตาลปัตรในระหว่างการแสดงธรรมเทศนาหรือสวดพระปริตร ก็เพราะพระพุทธเจ้าทรงถือตาลปัตรเมื่อเสด็จไปโปรดพระพุทธบิดา คือพระเจ้าสุทโธทนะ พระสงฆ์จึงได้ปฏิบัติตาม 

นอกจากนี้ยังมีผู้สันนิษฐานว่า เกิดจากเนื่องจากสภาพจิตใจของผู้ฟังธรรมมีหลายระดับ จึงต้องมีการป้องกันไว้ก่อน ดังเรื่องเล่าที่ว่า พระสังกัจจายน์ พระสาวกที่สำคัญรูปหนึ่ง ท่านมีรูปงามหรือพูดง่ายๆ ว่าหล่อมากๆโดยใน ขณะที่แสดงธรรมโปรดอุบาสก อุบาสิกาอยู่นั้น ทำให้สตรีบางคนหลงรักท่านอย่างมาก และด้วยภาวะจิตที่ไม่บริสุทธิ์ของสตรีเหล่านี้ จึงก่อให้เกิดบาปขึ้น เมื่อท่านรู้ด้วยญาณ จึงได้อธิษฐานจิตให้ตัวท่านมีรูปร่างอ้วนใหญ่พุงพลุ้ยกลายเป็นรูปลักษณะที่ดูไม่งามอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน และได้กลายมาเป็นเหตุให้พระภิกษุสงฆ์ต้องหาเครื่องกำบังหน้าเอาไว้เวลาเทศน์หรือประกอบศาสนากิจพิธี เพราะต้องการให้ผู้ฟังได้ฟังแต่ธรรมจากท่านเท่านั้น มิใช่มัวแต่มองหน้าหลงแต่รูปนั่นเอง

อย่างไรก็ดี แม้ว่าต้นกำเนิดของการที่พระสงฆ์ต้องถือตาลปัตร จะยังไม่แน่ชัดว่าแท้จริงเป็นมาอย่างไร แต่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงประทานความเห็นไว้ว่าความคิด 

ขอบคุณแหล่งที่มา

https://www.tnews.co.th/social/373064/